• Homepage
  • บทความ
  • การอ่านค่า วิเคราะห์และใช้งานใบรายงานผลการสอบเทียบด้านความดัน (ตอนที่ 1)

การอ่านค่า วิเคราะห์และใช้งานใบรายงานผลการสอบเทียบด้านความดัน (ตอนที่ 1)

การสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความดันคือการหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดความดันเครื่องมือที่รับการสอบเทียบกับค่าความดันมาตรฐาน (ที่ได้จากเครื่องมือมาตรฐาน) เพื่อใช้ในการตัดสินว่าเครื่องมือวัดดังกล่าวนั้นสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ ได้ต่อไปหรือไม่และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตหรือการบริการ ดังนั้นการสอบเทียบจึงมีความสำคัญในการบวนการผลิตและบริการซึ่งจะกระทำโดยหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่มีขีดความสามารถเหมาะสมกับเครื่องมือนั้นๆ และจะรายงานผลการสอบเทียบมาในรูปแบบของใบรายงานผลการสอบเทียบหรือที่เรียกว่า Calibration certificate ซึ่งจะเป็นการรายงานถึงความสัมพันธ์ของผลการวัดความดันของเครื่องมือนั้นกับค่าความดันมาตรฐาน หรือที่เรียกกันว่าค่าความคลาดเคลื่อน (error) แต่ทั้งนี้ในใบรายงานผลการสอบเทียบยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์และนำผลการสอบเทียบนั้นไปใช้งาน

การทำความเข้าใจในใบรายงานผลสอบเทียบ การวิเคราะห์และการที่จะนำข้อมูลในใบรายงานผลการสอบเทียบมาใช้ประโยชน์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้งานเครื่องมือวัด แต่บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานพบเจอปัญหาคือเมื่อสอบเทียบเครื่องมือวัดแล้ว จะตีความใบรายงานผลการสอบเทียบอย่างไร ข้อมูลใดบ้างที่สำคัญต่อการนำผลการสอบเทียบดังกล่าวไปใช้งานต่อ และจะทำการวิเคราะห์ผลการสอบเทียบนั้นอย่างไร

ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงการอ่านค่า วิเคราะห์ผลและนำผลในใบรายงานผลการสอบเทียบในด้านความดันไปใช้งานอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ใช้งานเครื่องมือใช้ผลการสอบเทียบได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ในตอนที่ 1 นี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบหลักในใบรายงานผลการสอบเทียบด้านความดันที่ควรจะมีซึ่งจะสอดคล้องกับในข้อกำหนดทางระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 ด้วยดังนี้

  1. หมายเลขใบรายงานผลการสอบเทียบ
  2. ชื่อที่อยู่ของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
  3. ชื่อที่อยู่ของลูกค้าที่ส่งเครื่องมือมาสอบเทียบ
  4. รายละเอียดของเครื่องมือที่รับการสอบ
  5. วิธีการสอบเทียบหรือมาตรฐานทีใช้ในการสอบเทียบ
  6. วันที่ทําการสอบเทียบ
  7. วันทีออกใบรายงานผล
  8. ความสามารถในการสอบกลับได้ Measurement traceability
  9. หมายเลขใบรายงานผลทุกหน้า
  10. หมายเลขหน้าและจำนวนหน้าทั้งหมด
  11. ลายเซ็นต์ของผู้ทำการสอบเทียบและผู้มีอํานาจในการออกใบรายงานผล
  12. สภาวะแวดล้อมในการทําการสอบเทียบ
  13. ผลการสอบเทียบหน่วยในการวัด ค่าความไม่แน่นอนในการวัด
  14. สัญลักษณ์แสดงการได้รับการรับรองระบบคุณภาพ  เป็นต้น

รายละเอียดต่างๆ ตัวอย่างใบรายงานผลการสอบเทียบ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการสอบเทียบและการนำไปใช้งานจะกล่าวในตอนถัดไป

Copyright c Thai Heart Calibration Co.,Ltd.
บทความ รูปภาพ ทั้งหมด ขอสงวนลิขสิทธิ์ไว้ตามกฏหมาย ห้ามมิให้นำไปแสวงหาผลประโยชน์ใดๆทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่ได้รับอนุญาต

บทความโดย ดร.เอกชัย พุฒฑิตวงศ์

Scroll to Top